วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 กับผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา


พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
.. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป..
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. ๒๕๕๐
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                “ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึง
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบ
คอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา
ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ผู้ให้บริการหมายความว่า
() ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
() ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ผู้ใช้บริการหมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการ
หรือไม่ก็ตาม
พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง
โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น
มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ
บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด
หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
() ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
() เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม () เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ
ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
() นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
() นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
() นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
() นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
() เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม ()
() () หรือ ()
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม
หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น
เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ
บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
() ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
() ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มี
เหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
() มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ
นี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบ
ที่สามารถเข้าใจได้
() เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
() สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่
ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
() ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์
ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
() สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
() ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
 () ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการ
เข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ใน
การถอดรหัสลับดังกล่าว
() ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียด
แห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ () () () () และ
() ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนา
บันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ () () () () และ () มอบให้
เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ () () () () และ() ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ () ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อ
ได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของ
เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ () นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรือ
อายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลาย
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้
พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้
แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึง
ประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้าม
จำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย
หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือ
เผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม
ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูล
จราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของ
ผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่
ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการ
ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
และเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์
หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงาน
สอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกัน
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคล
ซึ่งเกี่ยวข้องบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับ search engine และ web opac

Search Engine คืออะไร?

Search Engine (ภาษาไทย: เสิร์ชเอนจิน) เป็นโปรแกรมในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบเว็บไซต์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ข้อมูลที่ต้องการค้นหา เรียกอย่างเป็นทางการว่า "โปรแกรมช่วยในการสืบค้นข้อมูล" ซึ่ง Search Engine สามารถสืบค้นได้ทั้งข้อความ รูปภาพ สื่อมัลติมิเดีย ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอ และข้อมูลอื่น ๆ ได้ตามต้องการ โดยการกรอกคำค้นหา (Keyword) ลงไปในช่องคำค้นหาและคลิกค้นหา Search Engine ก็จะรายงานเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหานั้น ๆ ออกมาแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้เห็น ผู้ใช้งานก็จะเลือกอ่าน Title, Description ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาหรือข้อมูลที่ต้องการและคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ข้อมูลเพื่อค้นหาข้อมูลต่อไป
เสิร์ชเอ็นจิ้น (Search Engine) คือ เครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ด้วยคำค้นต่างๆ ซึ่งข้อมูลนั้น อาจอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ สื่อมัลติมีเดีย ไฟล์บีบอัด และรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถบันทึกเป็นเอกสารออนไลน์ได้ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Search Engine มีดังนี้

กระบวนการทำงานของ Search Engine

โดยปกติแล้ว Search Engine จะมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Robot (หุ่นยนต์) ในการสืบค้นเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลด้วยการทำ Index โดย Robot จะเดินทางจากเว็บหนึ่ง ไปอีกเว็บหนึ่งผ่าน Hyperlink ที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้นๆ


การเรียงลำดับผลลัพธ์จากการค้นหา

Search Engine มีอัลกอลิธึ่มในการจัดลำดับผลลัพธ์การค้นหาแตกต่างกันไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ส่วนมากจะเรียงจากความสัมพันธ์กับคำที่ใช้ค้นหา และมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ประเทศ ภาษา ขนาดของไฟล์ จำนวนผู้เข้าชม ความถี่ในการอัพเดทข้อมูล จำนวนลิงค์ เป็นต้น

ประโยชน์ของ Search Engine

Search Engine นั้นมีประโยชน์อย่างมากในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตและเป็นเหมือนตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานและเว็บไซต์ ปัจจุบันผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้งาน Search Engine มากกว่าการเข้าชมเว็บไซต์โดยตรง เพราะว่าเว็บไซต์บนโลกมีมากมายหลายร้อยหลายพันล้านเว็บไซต์ และเราไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลที่เราต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด เพราะฉะนั้นผู้ใช้งานจึงใช้ Search Engine เป็นตัวกลางในการค้นหาข้อมูล เพื่อที่จะเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่ต้องการอยู่นั่นเอง

การทำงานของ Search Engine

Search Engine แต่ละประเภทจะมีการทำงานที่คล้าย ๆ กันนั่นคือ การส่ง Web Crawler หรือ Spider ไปเก็บข้อมูลเว็บไซต์ต่าง ๆ เข้ามาเก็บไว้ในระบบ เพื่อจัดทำเป็นดัชนี (Indexing) การค้นหา และเมื่อผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine ตัวโปรแกรม Search Engine ก็จะทำการประมวลผลด้วยอัลกอลิทึมการจัดอันดับ (Ranking) และนำผลลัพท์จากข้อมูลที่มีอยู่ออกมาแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้เห็น

Search Engine ที่เป็นที่นิยม

ในปัจจุบันผู้ใช้งานในประเทศไทยจะใช้งาน Google Search Engine ซึ่งคิดเป็น % แล้วมากถึง 95% เลยทีเดียว เนื่องด้วยคุณภาพ ความเร็วในการค้นหา และลูกเล่นอื่น ๆ เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการทำ SEO ก็ควรที่จะศึกษาการทำงานของ Google เพื่อที่จะทำให้อันดับการค้นหาของเว็บไซต์ตัวเองอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้นั่นเอง

Search Engine มี 3 ประเภท

(ในวันที่ทำการศึกษาข้อมูลนี้และได้ทำการรวบรวมข้อมูล ผมสรุปได้?3 ประเภทหลัก) โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยครับ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง?3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ

ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines

Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน


โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ


1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ
Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ
Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com







Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักหนะครับก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะครับ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า Search Engine คืออะไรผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกันครับ

ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory


Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้




ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory


1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3.
Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ


ประเภทที่ 3 Meta Search Engine


Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ
Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.


มาถึงตอนนี้หลาย ๆ ท่านที่เคยสงสัยว่า Search Engine คืออะไร” คงได้หายสงสัยกันไปบ้างแล้วและเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine กันมากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของเราในการค้นหาข่าวสารข้อมูล สำหรับบทความ “Search Engine คืออะไรนี้หากขาดตกบกพร่องประการใด หรือ ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนท่านสามารถติชม หรือ ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ผ่าน Comments ของบทความชุดนี้เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดและ เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ทำการค้นคว้างข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งาน






ที่มาข้อมูล   http://www.thaimeboard.com/faq/qa-id14.html


WebOPAC
เว็บโอแพค
          WebOPAC ย่อมาจาก Web Online Public Access Catalog หมายถึง การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการ โดยสืบค้นผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งสื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
          เริ่มต้นการสืบค้น  เข้าไปที่เว็บไซต์สำนักวิทยบริการที่ http://www.library.msu.ac.th  หัวข้อสืบค้นสารสนเทศคลิกWebOPAC หรือพิมพ์คำค้นในช่องว่างซึ่งอยู่ด้านบนของเว็บไซต์ เลือกขอบเขต กดปุ่มสืบค้น ดังรูป

1.  การสืบค้นหนังสือ
          เพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือทั่วไป วิทยานิพนธ์ งานวิจัย นวนิยาย และ เรื่องสั้น ที่ให้บริการภายในสำนักวิทยบริการนั้น จะเิริ่มต้นอย่างไรดี  การค้นหาหนังสือให้ได้ดังใจและรวดเร็วมีขั้นตอนนี้ดังนี้

          1) สืบค้นจาก WebOPAC โดยเลือกใช้ขอบเขตหรือทางเลือกในการสืบค้นซึ่งมี  6  ทางเลือกได้แก่
              - ผู้แต่ง  หมายถึง ผู้แต่ง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปลชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการประชุมสัมมนา สำหรับผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ชื่อต้น และชื่อกลาง
              - ชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ
              - หัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ เอกสาร หรือบทความ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ทุกชนิด
              - คำสำคัญ หมายถึง คำ หรือ วลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ไม่ทราบทั้งชื่อเรื่อง ผู้แต่ง และหัวเรื่อง
              - เลขเรียกหนังสือ หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับทรัพยากรสารสนเทศประกอบด้วยเลขหมู่ พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง และพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่อง เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด
              - ผู้แต่ง/ชื่อเรื่อง สามารถสืบค้นได้โดยพิมพ์ชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งผู้ใช้ต้องทราบชื่อผู้แต่ง หรือหากทราบชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ จะทำให้สามารถจำกัดผลการสืบค้นได้
 
          2) พิมพ์คำที่ต้องการสืบค้นสารสนเทศในช่องว่าง คลิกทางเลือกการสืบค้น ได้แก่ ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ หรือ ผู้แต่ง/ชื่อเรื่อง  จากรูปตัวอย่างเป็นวิธีการสืบค้นหนังสือโดยเลือกใช้ขอบเขตการสืบค้นจากชื่อผู้แต่ง  คลิกที่ปุ่มสืบค้น
              * ถ้าเริ่มต้นสืบค้นโดยที่ไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง ให้เลือกสืบค้นจากขอบเขต "คำสำคัญ"

3) หน้าจอแสดงผลการสืบค้น โดยแสดง ชื่อเรื่อง สถานที่จัดเก็บ เลขเรียก และสถานภาพ  ให้ตรวจสอบดูสถานที่จัดเก็บหนังสือที่ต้องการนั้นว่าจัดเก็บอยู่ที่ใด มีสถานภาพอยู่บนชั้น ถูกยืมออกไปแล้ว หรือห้ามยืมออก  ผู้ใช้สามารถดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ จากนั้นให้จดเลขเรียกแล้วหยิบหนังสือบนชั้น แล้วนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ

2.  การสืบค้นบทความ
           จะมีวิธีการสืบค้นเริ่มแรกไม่แตกต่างจากการสืบค้นหนังสือ แต่ผู้สืบค้นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่าบทความเรื่องที่ต้องการนั้นอยู่ในวารสารชื่อเรื่องอะไร และจัดเก็บอยู่ที่ใด ซึ่งวารสารจะมีอยู่ 3 สถานภาพ คือ
          - วารสารฉบับปัจจุบัน  หมายถึง  วารสารฉบับล่าสุด ให้บริการที่ชั้นวารสารใหม่สีส้ม ชั้น 3
          - วารสารล่วงเวลา  หมายถึง  วารสารที่นำลงมาจากชั้นวารสารใหม่สีส้ม และถูกนำมาจัดเก็บไว้ให้บริการที่เคาน์เตอร์วารสารล่วงเวลาชั้น 3 และเพื่อรอเย็บเล่ม ผู้ใช้บริการสามารถกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการกับบรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์วารสารล่วงเวลาชั้น และนำวารสารไปถ่ายสำเนาได้ที่ศูนย์ถ่ายเอกสาร สำนักวิทยบริการ ชั้น 3
          - วารสารเย็บเล่ม  หมายถึง  วารสารที่ถูกนำมาเย็บเล่มแล้วจัดไว้ให้บริการที่ชั้นวารสารสีน้ำเงิน ผู้ใช้บริการสามารถหยิบตัวเล่มด้วยตนเองและนำไปถ่ายสำเนาเอกสารได้
          ขั้นตอนการสืบค้นมีดังนี้
          1) สืบค้นจาก Web OPAC โดยใช้ชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่อง หรือหัวเรื่อง หรือคำสำคัญ เพื่อตรวจสอบว่ามีบทความที่ต้องการหรือไม่ จากรูปตัวอย่างเป็นการสืบค้นหาบทความโดยใช้ขอบเขตการสืบค้นจากชื่อเรื่อง เมื่อได้ผลลัพธ์การสืบค้นให้เลื่อกรายการที่ต้องการแล้วคลิกเข้าไปดูแหล่งข้อมูลหรือชื่อวารสารของบทความเรื่องนั้น  ในกรณีที่มีผลลัพธ์เยอะและต้องการคัดเลือกเอาเฉพาะบทความ ให้คลิกที่ปุ่มเมนู Limit/Sort Search
          * Limit/Sort Search หรือการจำกัดผลลัพธ์ ใช้เพื่อคัดกรองทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ทุกประเภท

2) จากนั้นให้เลือกประเภทวัสดุ เป็น "ดรรชนีวารสาร" เพื่อกรองผลลัพธ์ให้ได้เฉพาะบทความวารสารเท่านั้น แล้วคลิกปุ่ม Submit เพื่อยืนยัน

3)  ให้เลือกบทความเรื่องที่สนใจ จากนั้นคลิกที่ "ดูรายละเอียดวารสาร" หน้าจอจะแสดงเลขเรียก สถานที่จัดเก็บ และวารสารฉบับที่มีให้บริการ ให้ผู้ใช้บริการคลิกที่ "Latest Received" เพื่อตรวจสอบว่าวารสารที่ต้องการนั้นถูกจัดเก็บอยู่ที่ใด

4) ให้ผู้ใช้บริการตรวจสอบว่าบทความที่ต้องการอยู่ในวารสารฉบับที่เท่าใด ถ้าเป็นฉบับที่มีข้อความว่า "ฉบับปัจจุบัน" ให้หยิบตัวเล่มได้ที่ชั้นวารสารใหม่สีส้ม ถ้ามีข้อความว่า "Arrived/ได้รับแล้ว" แสดงว่าเป็นวารสารล่วงเวลารอเย็บเล่ม ให้ติดต่อที่เคาน์เตอร์วารสารเพื่อยืมไปถ่ายสำเนาเอกสาร ถ้ามีข้อความว่า "Bound/เย็บเล่ม" ให้หยิบวารสารได้ที่ชั้นวารสารสีน้ำเงิน  
ตัวอย่างของวารสารที่มีข้อความ "Bound/เย็บเล่ม"
3.  การสืบค้นสื่อโสตทัศน์
     เมื่อต้องการค้นหาสารสนเทศประเภท VCD DVD เทป วีดิโอ หรือชุดสื่อการสอนอื่นๆ สามารถสืบค้นได้จาก WebOPAC  ใช้วิธีการและขั้นตอนเหมือนกับการสืบค้นหาหนังสือ แต่สถานที่จัดเก็บสื่อโสตทัศน์จะอยู่ที่ห้องบริการสื่อโสตทัศน์ชั้น ดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ 









จากรูปตัวอย่างค้นหาเรื่อง Photoshop ให้คลิกเลือกรายการผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อตรวจสอบสถานภาพ จดเลขเรียก แล้วส่งให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการยืมออก

ที่มาข้อมูล  http://www.library.msu.ac.th/il/index.php?deftab=10






วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet)
Internet คือ การที่หลาย ๆ เครือข่ายเชื่อมต่อกันและทำงานเสมือนเป็นเครือข่ายอันเดียวกัน ในอดีตเมื่อเริ่มมีการนำเครื่อง คอมพิวเตอร์ หรือ PC มาใช้งานในเชิงธุรกิจในยุกแรกนั้น ๆ เนื่องจากมีการพัฒนา Application ทางธุรกิจให้เลือกใช้งานมากมาย ก็ทำให้จำนวนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกัน ทำให้ ผู้ใช้พบปัญหาต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องไม่ได้ต่อเครื่องพิมพ์ไว้เวลาจะพิมพ์งานก็จะเอาข้อมูลนั้นไปพิมพ์ที่เครื่องอื่น ทำให้ไม่สะดวกและยุ่งยาก ยิ่งเมื่อองค์กรธุรกิจนั้นขยายตัวมากก็ทำให้ปัญหาการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเครื่องเดี่ยวโดด ๆ (Stand alone )กลายเป็นความไม่สะดวกเท่าที่ควร ทางแก้ไขคือ การติดตั้งระบบเครือข่าย Lan เพื่อเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ เครือข่าย LAN ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานข้อมูลร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้หรือ สามารถส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยงานได้อย่างราบรื่น รวมถึงการใช้งานเครื่องพิมพ์ธรรมดา ๆ ก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ความเร็วสูงเพื่อใช้งานกันในหน่วยงานต่าง ๆ
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง
การใช้อินเทอร์เน็ตแบบเดิมๆ (Dial Up)การใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป เราต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการใช้งาน เราจะต้องทำการต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ต โดยการ กด Dial ต่อจากนั้น ก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้ ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับโมเด็มด้วย ซึ่งโมเด็มความเร็วสูงสุดที่ใช้ก็เพียง 56 Kbps แต่ถ้าใช้งานเพียงเรียกดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (Downstream หรือ Download) ความเร็วดังกล่าว ก็นับว่าดีเพียงพอ แต่ถ้าจะดูภาพแบบ Video หรือ Movie Clip ก็ควรจะต้องมีความเร็วสูงขึ้น และในกรณีที่ต้องการใช้แบบ Upstreamหรือ Upload ก็ควรจะใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้น
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet หรือBroad Band Internet)บรอดแบรนด์ คือเทคโนโลยีการับ-ส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น โดบใช้เทคนิคWide Band ซึ่งเมื่อมี Bandwidth มาก ก็จะสามารถส่งข้อมูลผ่านออกไปในปริมาณที่มากขึ้น
ในอดีตนั้น การรับ-ส่งข้อมูล ใชะระบบ Base Band ที่มีช่องความถี่แคบๆเพียง 4 กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งทำให้เกิดข้อจกัดในการรับ-ส่งข้อมูลของโมเด็มธรรมดาเพียง 56 kbps เท่านั้น
สำหรับ Broad Band ในปัจจุบัน ใช้ความถี่ได้กว้างมาก ในช่วง25.875 ถึง 1,099.6875 กิโลเฮิรตซ์
ระบบ ADSL (Asymmetric Digital Service Line)ADSL เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถรับและส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง การรับข้อมูล (Downstream) จะมีความเร็วได้สูงถึง 8 เมกะบิตต่อวินาที (8 Mbps) และการส่งข้อมูล (Upstream) มีความเร็วสูงสุดที่ 1 Mbps แต่การให้บริการในปัจจุบัน อาจจะมีความเร็วด้านการส่งข้อมูลได้สูงสุด 512 kbps
ADSL ดีอย่างไร
1. มีความเร็วสูงกว่าระบบเดิมที่ใช้โมเด็มมาก ทำให้ดูข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่มีรูปภาพมากๆ หรือมีภาพVideo Clip ทำให้โหลดได้เร็วและภาพไม่กระตุก
2. สามารถติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่ต้องหมุนโทรศัพท์และสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Always On)
3. บริการ ADSL สามารถรับข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงกว่าด้านการส่งข้อมูล เพราะได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานส่วนใหญ่ที่ผู้ใช้มักจะเรียกดูข้อมูล ภาพ และเสียง ส่วนการส่งข้อมูล เช่น การส่งอีเมล์ การ Update ข้อมูล Edit ข้อมูลในเว็บไซต์นั้น จะมีความเร็วต่ำกว่า และอาจจะสูงสุดที่ 512 kbps แต่ก็นับว่ามากพอ
4. เมื่อติดตั้งระบบ ADSL แล้ว จะสามารถใช้งานโทรศัพท์หรือโทรสารได้ตามปกติ พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต บนคู่สาย หรือที่หมายเลขโทรศัพท์เดียวกัน
5. ผู้ใช้งานระบบ ADSL จะต้องเสียค่าบริการรายเดือนแบบเหมาจ่าย เช่นในปัจจุบัน ที่ความเร็ว 4 Mbps ค่าบริการรายเดือนของTrue เดือนละ 590 บาท
ระบบ ADSL2+ADSL2+ เป็นระบบที่พัฒนาต่อมาจาก ADSL เมื่อปี ค.ศ. 2003ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับระบบเก่าได้ โดยระบบ ADSL2+ จะมีความเร็วสูงถึง 24 เมกะบิตต่อวินาที   หรือเร็วกว่า ADSL ถึง 3 เท่าในระยะทาง 1 กิโลเมตร สำหรับการใช้งานแบบ Downstreamหรือ Download และถ้าระยะทางเพิ่มมากขึ้น ความเร็วก็จะลดต่ำลงเรื่อยๆ จนใกล้กับระบบ ADSL   สำหรับการใช้งาน ADSL2+แบบ Upstream หรือ Upload นั้นความเร็วสูงสุดได้ 1 เมกะบิตต่อวินาที เท่ากับระบบ ADSL
ความเร็วของอินเทอร์เน็ตกับระยะทางจากชุมสายเนื่องจากคลื่นความถี่สูงๆจะเดินทางได้ไม่ไกลมาก คือมีอัตราการลดทอนดังนั้นทำให้จำนวนช่องสัญญาณของระบบ ADSL ที่มีอยู่ถึง 255 ช่องไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมดเมื่อมีระยะทางไกลขึ้น โดยเฉพาะช่องที่
มีความถี่สูงๆ จึงทำให้ ADSL มีความเร็วทางด้านการใช้งานแบบDownstream / Download ลดลง เมื่อผู้ใช้อยู่ห่างจากชุมสายมากขึ้น
การทดสอบความเร็ว(Speed Test)ท่านสามารถทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตได้โดยเข้าไปที่www.adslthailand.com แล้วคลิกที่ Speed Test
จากนั้น ก็จะทราบ Bandwidth ตามตัวอย่าง ดังนี้


Cable Modem & ADSL มิติใหม่ internet ความเร็วสูงในประเทศไทย
เทคโนโลยีในการต่อเชื่อม internet ด้วยความเร็วสูงซึ่งประกอบด้วย ระบบ cable modem จาก Asianet, เทคโนโลยี ADSL ของบริษัท UBT
     เทคโนโลยี Cable Modem นั้น ทางบริษัท Asianet เป็นผู้จัดแสดง โดย มีการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำเทคโนโลยี cable modem เข้ามาใช้ในประเทศไทย โดยเทคโนโลยี cable modem เป็น เทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบ internet ด้วยความเร็วสูง ผ่านทางระบบ cable TV พร้อมกับการรับชมรายการทาง cable TV ได้ด้วย โดยอาศัยอุปกรณ์สำหรับแยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ ออกจากสัญญาณโทรทัศน์ (splitter) ซึ่งความเร็วที่ได้นั้น จะสูงกว่าการใช้ analog modem หรือ modem ในปัจจุบันมาก โดยทาง Asianet กล่าวว่า มีความเร็วถึง 1Mbps ทีเดียว
     หลักการของเทคโนโลยี cable modem นั้นจะเหมือนกับการทำงาน ของ modem ทั่วไป คือทำการรวมสัญญาณ (modulate) คลื่นพาหะ เข้ากับข้อมูล digital ที่ตัวส่ง และทำการแยกสัญญาณ (demodulate) ข้อมูล digital ออกจาก คลื่นพาหะที่ตัวรับ โดยจะทำการเชื่อมต่อระหว่างระบบ คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ กับระบบเครือข่ายผ่านสายสัญญาณ ของระบบ cable TV ซึ่งจะสามารถ ทำการกำหนดความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับระบบเครือข่ายได้ตาม ความต้องการที่ต่างกัน จาก 320 kbps จนถึง 10 Mbpsได้ เช่น ผู้ใช้งานที่เป็นภาคธุรกิจ อาจต้องการความเร็วใน การส่งขึ้นสู่ระบบเครือข่าย(upstream)และลงจากระบบเครือข่าย (downstream) ที่สูง ในขณะที่ผู้ใช้งานทั่วไป อาจต้องการความเร็วในการ ส่งข้อมูลลงจากเครือข่าย (downstream) สูง แต่ไม่ต้องการความเร็วในการ ส่งขึ้นเครือข่าย(upstream) มากนัก เช่นบริการ video on demand เป็นต้น
     สำหรับเทคโนโลยี ADSL ( Asymmetric Digital Subscriber Line ) ที่ได้มีการนำมาแสดงนั้น เป็นเทคโนโลยีในการสื่อสาร ทาง internet ความเร็วสูงผ่านทางสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยนำเอาย่านความถี่ ที่ไม่มีการใช้งานในระบบโทรศัพท์มาใช้งาน เนื่องจากระบบโทรศัพท์ จะใช้สัญญาณจาก 3 Hz ถึง 4000 Hz เท่านั้น จึงยังเหลือความถี่ในส่วนที่ ไม่ได้ใช้งานอยู่อีกมาก โดยจะส่งข้อมูลที่ระดับที่สูงกว่า 4000 Hz จึง ทำให้สามารถใช้งานระบบโทรศัพท์ได้แม้มีการสื่อสารข้อมูลด้วยระบบ ADSL อยู่ โดยอาศัยอุปกรณ์ ที่ใช้ในการแยกสัญญาณโทรศัพท์ และ สัญญาณข้อมูลออกจากกัน
     ADSL จะทำการแบ่งการส่งข้อมูลจากเครื่อง PC ไปยังผู้ให้บริการ ออกเป็นขาขึ้น( upload ) คือ จากเครื่อง PC ไปยังผู้ให้บริการ และ ขาลง
(download ) คือ จากผู้ให้บริการสู่เครื่อง PC โดยความเร็วในการส่งข้อมูลสำหรับขาขึ้นและ ขาลงจะไม่เท่ากัน คือความเร็วในขาขึ้นจะไม่สูงมากนัก คือประมาณ 64 kbps - 1.5 Mbps โดยมีความเร็วในขาลง ( download ) ได้ตั้งแต่ 2 Mbps ถึง 8 Mbps ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้ ซึ่งความเร็วของการส่ง ข้อมูลของเทคโนโลยี ADSL นั้นจะขึ้นอยู่กับ ระยะห่าง จากเครื่องคอมพิวเตอร์บ้านถึงจุดให้บริการ ADSL, ขนาดของ สายทองแดงที่ใช้ และคุณภาพของสาย ซึ่งความเร็วในการส่งข้อมูล จะลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น และขนาดของสายที่เล็กลง
     เทคโนโลยี ADSL ถูกพัฒนาให้ใช้ TCP/IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้บนเครือข่าย Internet และพัฒนา บนพื้นฐานของเทคโนโลยี ATM ทำให้ ADSL สามารถรองรับ Application ในด้าน Multimedia ได้เป็นอย่างดี ดังเช่น Video on demand , Entertainment on Demand รวมถึงสามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเครือข่าย ความเร็วสูงอย่าง ATM ( Asynchronous Transfer Mode ) ด้วย ( ATM over ADSL )
      Cable Modem และ ADSL นั้นมีจุดที่เหมือนกันคือ ผู้ใช้สามารถ ใช้งานอุปกรณ์อื่นไปพร้อมๆ กับที่เข้าสู่ระบบ internt ได้ด้วย โดยใช้อุปกรณ์แยกสัญญาณ ( splitter ) สำหรับแยกสัญญาณข้อมูล ออกจากสัญญาณอื่นในสายส่งสัญญาณ สำหรับเทคโนโลยี Cable modem นั้น ถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ใข้ internet ที่ใช้บริการ cable TV อยู่ก่อนแล้ว แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ cable TV อยู่ก่อนแล้ว จำเป็นจะต้องทำการติดตั้งสายส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการ cable TV และตัวแยกสัญญาณ ( splitter )ก่อนจะใช้งานได้ ส่วนเทคโนโลยี ADSL นั้นเป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้งานบน สายโทรศัพท์ธรรมดา จึงไม่ จำเป็นต้องวางสายสัญญาณระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการ แต่เนื่องจาก ข้อจำกัดด้านระยะ ทาง,ขนาด และ คุณภาพของสายสัญญาณ จึงทำให้ พื้นที่ที่ให้บริการADSL นั้นค่อนข้างจำกัด คือ ต้องอยู่ห่างจาก เครือข่ายไม่เกิน 3 กิโลเมตร และสายโทรศัพท์จะต้องสามารถ รองรับเทคโนโลยี ADSL ด้วย รวมถึง modem ที่ใช้ ในการส่งสัญญาณ
     เทคโนโลยี cable modem และ ADSL ที่มีการนำเสนอในงาน BOI Fair 2000 นี้ เป็นเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมีบทบาท สำคัญในระบบ internet ความเร็วสูงในอนาคต ที่ความเร็วในการเชื่อมต่อกับระบบ internet โดยวิธีการต่อเข้ากับผู้ ให้บริการ internet ( ISP ) ที่ความเร็ว 56.6 kbps นั้นเริ่มจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงมีความต้องการเทคโนโลยี ความเร็วสูงต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น broadband ISDN, cable modem, ADSL หรือ satellite modem จึงถือเป็นเรื่อง ที่น่ายินดีที่มีการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ซึ่งเทคโนโลยีแต่ละอย่างนั้นมีจุดเด่น และจุดด้อย ในตัวเองต่างกัน ผู้ที่ต้องการจะใช้งานจึงจำเป็นจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจต่อเทคโนโลยีต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ บริการต่างๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงตัวผู้ใช้งานเอง ก็ควรจะได้ทำการพัฒนาลักษณะการใช้งาน และ การวางแผนการใช้เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของ เทคโนโลยีนั้นๆ ด้วย

 
อ้างอิง  http://www.panyathai.or.th/
              http://www.somkiet.com/ComTech/ADSL.htm